บริษัท เอนเดฟเวอร์ จำกัด
Endeavour Co., Ltd.
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 0745555004781
Tel: 099-369-5393
Email: contact@babyfirst.co.th
ท่อน้ำนมอุดตัน และเทคนิคการให้นม จะทราบอย่างไรว่าเราเป็นท่อน้ำนมอุดตันหรือไม่ อาการของท่อน้ำนมอุดตัน (Blocked Duct) จะมีลักษณะเป็นก้อนไตแข็ง ๆ ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของเต้านม โดยไม่ได้เป็นทั้งเต้า เมื่อกดลงไปจะรู้สึกเจ็บและอาจบวมแดง แต่ไม่มีไข้
สาเหตุของท่อน้ำนมอุดตัน
เนื่องจากน้ำนมบริเวณนั้นข้นมากเกินไป ไหลไม่สะดวก และเกิดอาการอุดตันอยู่ในท่อน้ำนมท่อใดท่อหนึ่ง จึงทำให้น้ำนมส่วนที่อยู่เหนือจุดที่อุดตันขึ้นไปจะคั่งไม่สามารถไหลออกมาได้ จนเกิดเป็นก้อนไตแข็ง ๆ
นอกจากนี้ ท่อน้ำนมอุดตันยังอาจเกิดจาก การที่คุณแม่ให้ลูกดูดนมไม่บ่อยพอ หรือในการให้นม/ปั๊มนมแต่ละครั้ง ระบายน้ำนมออกจากเต้าไม่หมด ทำให้น้ำนมที่ค้างอยู่ในเต้าเกิดการอุดตัน แรงกดทับจากเสื้อชั้นในที่คับเกินไปก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำนมอุดตัน รวมถึงการนอนตะแคงทับเต้านมข้างนั้นนาน ๆ ก็อาจส่งผลต่อท่อน้ำนมได้
วิธีการแก้ไขท่อน้ำนมอุดตัน
ให้ใช้ผ้าอุ่นจัดคบประคบเต้านมประมาณ 3-5 นาที ก่อนให้นมลูก จะทำให้ท่อน้ำนมทำงานได้ดีขึ้น และช่วยให้ลูกน้อยดูดนมได้เกลี้ยงเต้ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม การหาผ้าอุ่น ๆ อาจทำให้คุณแม่เสียเวลาและลูกน้อยก็ดื่มนมได้ไม่ทันใจ ในปัจจุบัน ได้มีถุงประคบร้อนที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่คุณแม่ โดยเพียงใส่ข้าวสารที่มีอยู่ในบ้าน และนำเข้าไมโครเวฟ ก็จะได้ความร้อนเหมาะแก่การประคบเต้านมคุณแม่โดยใช้เวลาไม่มาก และมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากเหมือนกับการใช้ผ้าอุ่นจัดแบบในอดีต
การจัดท่าให้นม โดยให้คางของลูกน้อยชี้ไปบริเวณที่เต้านมเป็นก้อน ลิ้นของลูกน้อยก็จะช่วยรีดน้ำนมออกจากท่อที่ตันได้ ขณะที่ลูกกำลังดูดนม คุณแม่สามารถนวดเบา ๆ บริเวณเหนือจุดที่อุดตันหรือบริเวณที่เป็นไตแข็ง ไล่ลงไปถึงหัวนม เพื่อดันก่อนที่อุดตันออก การจัดท่าให้ลูกดูดนมโดยการเปลี่ยนท่าไปเรื่อย ๆ ในแต่ละมื้อ ลิ้นของลูกยังช่วยให้น้ำนมในจุดต่าง ๆ ได้ระบายออกได้ดีขึ้นอีกด้วย
Source: มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย, APinspire นอกจากนี้ คุณแม่ยังควรให้ลูกน้อยดูดนมจากเต้าที่มีปัญหาก่อน เพราะขณะที่ลูกหิวจัด ลูกจะดูดได้แรงขึ้น และควรนำลูกมาดูดนมบ่อย ๆ และนานอย่างน้อยข้างละ 15-20 นาที โดยหลังจากที่ลูกดูดนมเสร็จ ให้บีบน้ำนมออก เพื่อระบายน้ำนมเพิ่ม จะช่วยให้ท่อน้ำนมที่อุดตัน หายเร็วขึ้น
คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีแก้ไข เมื่อเต้านมอักเสบเป็นไต โดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้
1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้
ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั๊มให้บ่อยขึ้น นมที่ปั๊มอย่าทิ้ง เก็บได้ตามปกติ
ให้คางลูกอยู่ตรงตำแหน่งที่เป็นก้อน อาจต้องตีลังกาดูด ถ้าก้อนอยู่ด้านบน
ให้พ่อแปรงฟันให้สะอาด ลองช่วยดูดดู
2. การประคบอุ่นหรือร้อน ด้านนอก อาจไม่ช่วยอะไรมาก เพราะเป็น superficial heat
แต่ไม่เสียหายที่จะลองทำดู วิธีที่ได้ผลคือ deep heat โดยการทำอัลตราซาวด์
3. ต้องใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย ถ้าเป็นนานเกิน 24 ชั่วโมงแล้ว ไม่เช่นนั้น อาจพัฒนาจนกลายเป็นฝีได้
ยาแก้อักเสบที่ใช้ ไม่มีปัญหากับการให้นม เช่น dicloxacillin ถ้าแพ้เพนนิซิลลิน ให้ใช้ clindamycin
4. ถ้ามี white dot ที่หัวนม ถ้าให้ลูกดูดขณะหิวจัดแล้วไม่หลุด ให้ใช้เข็มสะอาดอันใหญ่ๆจิ้มให้หลุด (เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ควรปรึกษาคลินิกนมแม่ถึงวิธีที่ถูกต้องและปลอดเชื้อ)
5. ถ้าเป็นฝีแล้ว ห้ามให้หมอกรีดแผลเด็ดขาด ขอลองให้ใช้เข็มเบอร์ใหญ่ พยายามดูดออกให้หมด อาจดูดซ้ำหลายๆครั้ง และยาแก้อักเสบให้เปลี่ยนเป็นชนิดฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าเส้นเลือดก็ได้ และห้ามหยุดให้นมลูกเด็ดขาด เมื่อคุณไม่มีแผลที่เต้า คุณก็ไม่เจ็บเวลาดูด
ถ้ากรีดเป็นแผลแล้ว จะลงเอยด้วยการที่น้ำนมจะรั่วออกทางแผลตลอดเวลา ทำให้แผลไม่ปิด แล้วในที่สุด ต้องใช้ยาหยุดน้ำนม ที่ชื่อ parlodel
Reference: thaibreastfeeding.org, บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
ชมสินค้า ผ้าคลุมให้นม และ ถุงประคบร้อน ได้ตามลิงค์ https://www.babyfirst.co.th/Products/Breastfeeding-covers/Beanie-Nap/
จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก ของเล่นเด็ก เตียงเด็ก ขวดนม ที่มีคุณภาพเพื่อลูกรักของคุณในราคาประหยัด |
Articles / บทความ