บริษัท เอนเดฟเวอร์ จำกัด
Endeavour Co., Ltd.
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 0745555004781
Tel: 099-369-5393
Email: contact@babyfirst.co.th
ปัญหาที่รบกวนการนอนของเด็กอ่อน การพักผ่อนของเด็กอ่อนเป็นเรื่องสำคัญมากมีผลต่อพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็ก อย่างไรก็ตาม คุณพ่อ-คุณแม่หลายท่านก็มักจะพบกับการที่เด็กอ่อนงอแง ทำให้พักผ่อนได้ไม่เต็มที่ บทความนี้จึงขอแนะนำ สาเหตุ และวิธีการแก้ปัญหาการนอนหลับของลูกน้อยให้ดีขึ้น
การปวดท้องโคลิค
เด็กทารกที่เป็นมักจะเริ่มมีอาการโคลิค ตั้งแต่ประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังคลอด การปวดท้องโคลิค คือ เด็กมักจะร้องไห้ในช่วงเวลาเดิม ๆ โดยมากมักจะเป็นในช่วงเวลาเย็น ใกล้ค่ำ อาการอาจจะรุนแรงขึ้นในช่วงอายุ 6-8 สัปดาห์ แล้วหายไปเองเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน โดยเชื่อว่าอาการโคลิคเกิดจากลมในท้อง ซึ่งถูกสร้างขึ้นระหว่างวัน ดังนั้น การให้ยาขับลมอาจได้ผล การอุ้มพาดบ่าหรือให้นอนคว่ำบนตักคุณพ่อคุณแม่ พร้อมลูบหลังไปด้วยอาจช่วยบรรเทาอาการ
ข้อสังเกตของอาการ เด็กจะร้องคล้ายปวดท้อง โดยเกร็งท้อง มือ และขางอเข้าหาตัว โดยจะร้องเป็นระยะ วันละ 1-2 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นตอนเย็นหรือค่ำ โดยมีอาการครั้งละ 1-2 ชั่วโมงระหว่างที่ไม่มีอาการลูกดูปกติ แข็งแรงดี และไม่มีอาการแสดงว่าหิว
เมื่อลูกเกิดอาการ คุณพ่อคุณแม่เองต้องไม่หงุดหงิดโมโหลูก หรือเขย่าตัวลูกเวลาที่ลูกร้องไห้ ให้อุ้มลูกเดินไปมา เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ หรือเปิดเพลงเบาๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียดทั้งตัวคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย
ความหิว
เด็กทารกที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือน มักจะตื่นมากลางดึกเพราะหิว หลังจากให้นมยามดึก เด็กโดยมากก็สามารถนอนหลับต่อได้เอง แต่สำหรับเด็กบางคนที่อายุเกิน 6 เดือนไปแล้วก็ยังคงตื่นมากลางดึกเพื่อกินนม คงต้องมาดูว่า เด็กร้องเพราะหิวหรือว่าเป็นเพราะความเคยชิน หากคุณแน่ใจว่าลูกได้รับนมอย่างพอเพียงช่วงก่อนนอน แต่ลูกยังคงร้องเพราะติดการกินนมในมื้อดึก ขอให้ลองลดปริมาณนมลง แต่หากว่าลูกไม่ยอมกินนมในตอนกลางวัน แต่มาเน้นกินนมตอนกลางคืนแทน แสดงว่าระบบการกินไม่ปกติค่ะ แก้ไขโดยให้ลูกกินน้ำเปล่า หรือผสมนมให้เจือจางในตอนกลางคืน ซึ่งจะทำให้ลูกหิวมากขึ้นในช่วงกลางวัน เมื่อให้นมในตอนกลางวันลูกจะกินนมมากขึ้นเอง
แนะนำให้ จดบันทึกการนอนและการกินในรอบวันของลูก โดยบันทึกทั้งพฤติกรรม เช่น การดูดไปเรื่อย ๆ การดูดอย่างหิวโหย เวลาที่ใช้ในแต่ละมื้อ รวมทั้งระยะห่างระหว่างมื้อ หากลูกดูดไปเรื่อย ๆ อาจเป็นไปได้ว่า เพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่ใช่เพราะความหิว ต้องพยายามให้หยุดกินเมื่อรู้สึกว่าอิ่มแล้ว หลังจากนั้นพาเข้านอน โดยหากเป็นการดูดเพื่อผ่อนคลาย คุณพ่อ-คุณแม่อาจเลือกจุกหลอกให้ลูกน้อยได้
หากสังเกตว่าลูกเคยชินกับนมมื้อดึกมากกว่าหิว ขอแนะนำให้ลูกดื่มน้ำแทนนม โดยค่อย ๆ ผสมนมให้เจือจางลงเรื่อย ๆ และค่อย ๆ ลดเวลาของการให้นมแต่ละครั้ง เมื่อลูกร้องควรรอสัก 5 นาที ก่อนเข้าไปหา เพราะลูกอาจหลับต่อได้ด้วยตัวเอง โดยการให้นมมื้อดึก ต้องมั่นใจว่าลูกหิวจริง ๆ เพราะการที่ให้ลูกตื่นขึ้นมากลางดึกสงบลงด้วยการให้นมเป็นเรื่องง่ายมาก แต่ถ้าทำอย่างนั้นบ่อย ๆ ลูกจะตื่นขึ้นมา เพราะความเคยชินไม่ใช่จากความหิว ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกตื่นขึ้นมาเพราะเปียกแฉะ ร้อน หนาว หรือฟันกำลังขึ้น เมื่อลูกโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่จะพบว่า ระยะห่างระหว่างมื้อของนมมื้อดึกนานขึ้น จนในที่สุด ลูกจะงดนมมื้อดึกได้ด้วยตัวเอง
อาการเจ็บเหงือกเพราะฟันกำลังขึ้น
ฟันที่กำลังขึ้นอาจสร้างความเจ็บปวดให้เด็กจนร้องไห้ตลอด ทำให้เด็กนอนหลับได้ไม่ยาวในช่วงกลางคืน โดยทั่วไปเด็กทารกเริ่มมีฟันขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนและจะต่อเนื่องไปจนอายุ 3 ปี โดยทารกแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาต่อความเจ็บปวดที่แตกต่างกันไป คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกน้อยหายเจ็บปวดและนอนหลับสนิทในกลางคืนได้ โดยใช้สมุนไพรไทย เช่น ใบแมงลักโขลกให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อย ทาบริเวณเหงือกที่ปวดของลูก อาจช่วยบรรเทาอาการได้ หรือต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่มวันละ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่มวันละ 2 ครั้ง หากในช่วงกลางวันที่ลูกตื่น อาจให้เป็นจุกหลอก หรือของเล่นยางกัดที่สามารถเข้าปากได้ จะทำให้ลูกน้อยได้ผ่อนคลายและบรรเทาอาการเจ็บได้ดี
คุณพ่อ-คุณแม่สามารถสังเกตอาหารเจ็บเหงื่อ/ฟันได้ ดังนี้ ลูกมีอาการหงุดหงิด งอแงมากขึ้น และร้องมากขึ้นในเวลากลางคืน หรือน้ำลายไหลมาก แก้มของลูกจะเป็นสีแดง เหงือกของลูกจะบวมแดง ลูกอาจอยากดูดนมแม่หรือนมขวดมากขึ้น ลูกจะนอนหลับไม่สนิท ถ้าเหงือกของลูกน้อยมีอาการบวมแดงมาก ควรปรึกษาหมอฟัน
Reference: www.n3k.in.th/
Photo: www.tinygreenmom.com/
จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของใช้เด็ก รถเข็นเด็ก ของเล่นเด็ก เตียงเด็ก ขวดนม ที่มีคุณภาพเพื่อลูกรักของคุณในราคาประหยัด |
Articles / บทความ