การให้เด็กดูดจุกหลอกยังสามารถเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กได้ในช่วงสั้น ๆ เช่น ช่วยในเด็กนิ่งขึ้นระหว่างการฉีดวัคซีน การดูดจุกหลอกยังสามารถบรรเทาความหิวขณะที่รอคุณแม่เตรียมนมในทานได้ เช่น ระหว่างที่คุณแม่หาที่เหมาะๆ ในการนั่งให้นมน้อง หรือการเตรียมผ้าคลุมเมื่อต้องเปิดเสื้อให้นมน้อง หรือ แม้กระทั่งระหว่างรอการอุ่นน้ำนมที่แช่ไว้ หรือ รอการชงนม
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นนักเดินทาง การพาลูกน้อยขึ้นเครื่องบินไปด้วยกัน จุกหลอกจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เด็กหายหูอื้อ และสนุกกับการเดินทางตลอดทั้งเที่ยวบิน โดยไม่รบกวนผู้โดยสารคนอื่นๆ
ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด SIDS
การหลับไม่ตื่นในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome: SIDS) คือ การเสียชีวิตอย่างฉับพลัน ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุของการเสียชีวิตได้ โดยปกติแล้วเด็กทารกจะเสียชีวิตแล้วหลังจากที่นอนหลับไปแล้ว โดยไม่มีสัญญาณใดๆ เตือนก่อนล่วงหน้า
ในต่างประเทศ หนึ่งในสาเหตุหลักที่คุณพ่อคุณแม่ให้ลูกดูดจุกหลอก คือ การลดความเสี่ยงของ SIDS ทั้งนี้งานวิจัยในสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การให้เด็กดูดจุกหลอกระหว่างนอน จนอายุถึง 1 ปี สามารถลดโอกาสในการเกิดภาวะ SIDS ในเด็กเล็กได้
การดูดจุกหลอกกับการดูดนิ้ว
Photo Credit: personhoodfl.com
จากการศึกษาข้อมูลในหลายประเทศ ได้ข้อสรุปเป็นเสียงเดียวกันว่า ให้เด็กติดดูดจุกหลอกดีกว่าการติดดูดนิ้วตัวเอง!!! การให้เด็กดูดนิ้วมือตัวเอง นอกจากจะเป็นการสร้างลักษณะนิสัยที่ไม่ดีให้แก่เด็กแล้ว การเลิกดูดนิ้วยังทำได้ยากกว่าการเลิกจุกหลอกอีกด้วย เนื่องจาก นิ้วมือไม่สามารถแยกออกจากตัวเด็กได้ ซึ่งต่างจากจุกหลอกที่สามารถใช้กลยุทธ์ต่างๆ ในการบอกลาและทิ้งจุกหลอกไปได้
ข้อเสียของการดูดจุกหลอกและวิธีป้องกัน
อาจทำให้เด็กสับสน
การให้เด็กดูดจุกหลอกตั้งแต่แรกเกิดนั้น อาจทำให้เด็กสับสนลักษณะของหัวนม เนื่องจากความแตกต่างของนมแม่กับจุกหลอก อย่างไรก็ตาม หากรอให้เด็กเคยชินกับการดูดนมแม่ก่อน จึงค่อยให้ใช้จุกหลอกก็จะไม่มีปัญหาอะไร ระยะเวลาที่เด็กจะเคยชินกับการดูดนมแม่ อาจใช้เวลาเพียง 2-3 สัปดาห์ หรือมากว่านั้นขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน โดยองค์กรในสหรัฐอเมริกา แนะนำให้รอจนเด็กอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์ก่อน จึงค่อยให้จุกหลอก
อาจทำให้เด็กติดจุกหลอก
การให้เด็กดูดจุกหลอกตลอดทั้งวัน อาจทำให้เด็กติดจุกหลอกได้ หากเป็นไปได้อาจให้เด็กดูดจุกหลอกในเวลาที่จำเป็นเท่านั้น ในบางครั้ง การดูดจุกหลอกขณะนอนหลับตลอดทั้งคืนก็อาจทำให้เด็กติดจุกหลอกได้ หลายครั้งที่เด็กอาจร้องไห้เมื่อจุกหลอกหลุดออกจากปากระหว่างนอนหลับ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใส่จุกหลอกเข้าปากทันที การเปลี่ยนท่านอน หรือเขย่าเตียงเบาๆ ก็อาจทำให้เด็กหยุดร้องได้ โดยไม่ต้องใส่จุกหลอกกลับเข้าไปปากอีก
อาจทำให้ฟันเสียรูป
ข้อมูลในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การใช้จุกหลอกในเด็กเล็กไม่เกิน 1 ปี ไม่ส่งผลต่อฟันเสียรูป หากเด็กใช้จุกหลอกหลังอายุ 1 ปีก็อาจทำให้ฟันหน้าไม่สวยได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ได้มีจุกหลอกที่พัฒนารูปแบบโดยทันตแพทย์ให้มีคอจุกที่บางลง และไม่ส่งผลกระทบต่อฟันหน้า การใช้จุกหลอกดังกล่าวก็จะช่วยลดปัญหาในเรื่องของฟันได้
.jpg)
Photo Credit: MAM Thailand
จุกหลอกสกปรก
คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมทำความสะอาดจุกหลอกสม่ำเสมอ เนื่องจากเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนภูมิคุ้มกันยังไม่ดีพอ ดังนั้น ควรทำความสะอาดจุกหลอกด้วยการนึ่งหรือต้ม ก่อนนำมาให้เด็กดูด ส่วนเด็กที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป สามารถทำความสะอาดโดยการล้างปกติได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเล่นกับเด็กโดยการนำจุกหลอกใส่ปากผู้ใหญ่ เพราะเป็นการเพิ่มเชื้อโรคบนจุกหลอกโดยไม่รู้ตัว
ข้อควรระวังอื่น ๆ ในการใช้จุกหลอก
- หมั่นสำรวจจุกหลอกสม่ำเสมอ ไม่ให้มีส่วนที่ฉีดขาด หรือร่องรอยต่าง ๆ บนจุกหลอก เพราะร่องรอยต่าง ๆ จะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และส่วนเล็ก ๆ ที่หลุดหรือขาด เด็กอาจกลืนเข้าไปได้
- ควรเปลี่ยนจุกหลอกให้เหมาะกับอายุของเด็ก เนื่องจากจุกหลอกแต่ละขนาดได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับรูปร่างและพัฒนาการของปากเด็ก
การป้องกันไม่ให้เด็กดูดจุกหลอกตลอดเวลา
- เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 8 เดือน (Younger Infants) สามารถเบี่ยงเบนความสนใจเด็กจากจุกหลอกได้หลายรูปแบบ เช่น การเล่นเปลโยก ร้องเพลง หรือการเปิดเพลงสบายๆ
- เด็กอายุประมาณ 7 – 18 เดือน (Older Infants and Toddlers) สามารถให้เด็กทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น เล่นของเล่น หรือให้เด็กมีของเล่นติดมือเป็นของเล่นอื่น ๆ เช่น ผ้ากัด (Blanket with satin edging) เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กจากจุกหลอก
- เด็กอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป (Toddlers and Older Children) สามารถให้เด็กเลิกจุกหลอกได้หลายวิธี เช่น จัดเป็นปาร์ตี้อำลาจุกหลอก การให้ของขวัญชิ้นพิเศษแลกกับการเลิกจุกหลอก